โครงการวิจัย: การออกแบบระบบแสงสว่างเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเวลากลางคืนในเขตเมืองเก่าน่าน ส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น โดยทุนสนับสนุนจาก : Japan International Cooperation Agency (JICA) และคลัสเตอร์วิจัยการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
The Study on the Development of Lighting System for the Promotion of Night-time Cultural Tourism in Nan Old Town The collaborative project between the Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB) and Japan International Cooperative Agency (JICA)
with support from: Japan International Cooperation Agency (JICA) and Social Development and Human Security Research Cluster, Chulalongkorn University
หลายๆคนเคยเปรียบเทียบสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่สวยงามกับแสงสว่าง ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็เอาไปเปรียบเทียบเทียบกับความมืด เหมือนเปรียบเทียบสีขาวเป็นความดี และสีดำเป็นความไม่ดี แต่ทั้งนี้ แสงจะชัดเจนและสวยที่สุดก็เมื่ออยู่ในความมืดนั่นเอง ถ้าจะบอกว่าในเชิงศิลปะ แสงมีส่วนต่อการกำหนดอารมณ์ของเรา ที่สามารถก่อให้เกิดความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆได้ ในช่วงเวลากลางคืน เราจึงจำเป็นต้องพึ่งแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้า การวางแผนการดำเนินชีวิตให้เข้ากับเวลาและความต้องการในการใช้แสง ก่อให้เกิดภาพและแสงเงา ซึ่งจะช่วยให้เกิดภาพในมิติที่งดงามตามแต่จินตนาการที่สวยงามได้
โครงการออกแบบแสงสว่างเพื่อการท่องเที่ยวตอนกลางคืนในเขตเมืองเก่าน่าน ซึ่งได้ดำเนินการจากงานวิจัยโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศหรือไจก้า ที่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัย และเทศบาลเมืองน่าน ภายใต้โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อออกแบบและติดตั้งแสงสว่างโบราณสถานและเขตเมืองเก่าน่าน อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมโดยใช้อัตลักษณ์ของเมืองน่าน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมตอนกลางคืนและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
ผศ.ดร วรภัทร อิงคโรจน์ ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบแสงสว่างที่จะใช้สำหรับเขตสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าน่าน จริงๆแล้ว แสงสว่างมีความหมายหลายอย่าง และแสงก็มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา จึงเริ่มทำโครงการ เพื่อต้องการให้ผู้คนได้เห็นความงดงาม อัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม ของสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่าน่าน ที่จะช่วยเป็นกลไกหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะเวลากลางวัน แต่ยังสามารถขยายไปถึงกลางคืนได้อีกด้วย
โดยได้เริ่มต้นทำการศึกษาวิจัย ออกแบบ ทดสอบแสงในบริเวณหัวแหวนเมืองน่าน โดยร่วมกับเทศบาลเมืองน่าน ผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ ตัดสินใจในรูปแบบของแสงที่จะติดตั้ง เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมกับสถานที่ในพื้นที่ที่ทีมวิจัยเรียกว่าเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเวลากลางคืน อันประกอบด้วย วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านวัดหัวข่วง วัดมิ่งเมือง วัดศรีพันต้น กำแพงเมืองเก่าน่าน
โดยทางทีมวิจัยได้ทดลองออกแบบแสงในหลากหลายรูแบบ ตั้งแต่รูปแบบที่เรียบง่าย ไปจนถึงรูปแบบที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อสร้างมิติด้านแสงและเงาที่ตัวโบราณสถาน และรูปแบบของแสงต้องไม่ส่งผลกระทบต่อตัวอาคารหรือสถานที่ที่ติดตั้งแสง มีการทำ Mock Up จำลองรูปแบบแสงสว่างในสถานที่จริง เพื่อทดสอบว่าสามารถติดตั้งได้จริง โดยการจำลองการออกแบบโดยคอมพิวเตอร์ และทดสอบจากแสงสว่างจริง ทำให้ทีมวิจัยสามารถใช้เป็นสื่อในการสื่อสารกับชุมชน และนำเสนอรายละเอียดให้กับหน่ายงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งทางชุมชนและหน่วยงานเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในเรื่องของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการท่องเที่ยวต่อไป
แหล่งที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ ฝ่ายอำนวยการ
สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองน่าน
โทร 0 54710 234 ต่อ 102,321
facebook เทศบาลเมืองน่าน www.nancity.go.th